การออกแบบ ของ เอ็ม1 เอบรามส์

การป้องกัน

ลายพราง

ไม่เหมือนกับยานพาหนะในยุคแรกๆ ของกองทัพบกสหรัฐในสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเวียดนาม ซึ่งใช้โครงสีน้ำตาลเขียวเข้มและรูปดาวดวงใหญ่ เอ็ม1 (ขนาดปืน 105 ม.ม.) ในรุ่นผลิตแรกๆ นั้นจะใช้สีเขียวล้วนแลัะเปลี่ยนการใช้รูปดาวไปเป็นแต้มสีดำแทน บางหน่วยจะทำสีรถถังที่ประกอบด้วย 4 สี ปัจจุบันรถถังในภาคสนามที่ใช้สีเดิมที่เป็นสีเขียวนั้นแถบจะไม่มีแล้ว

เอ็ม1เอ1 (ขนาดปืน 120 ม.ม.) ที่ผลิตมาจากโรงงานจะมาพร้อมลายพราง 3 สีของนาโต้ คือ ดำ เขียว และน้ำตาลเขียว ปัจจุบันเอ็ม1 และเอ็ม1เอ1 ที่ประจำในสงครามอ่าวจะถูกทำสีเป็นสีน้ำตาลทะเลทราย รถถังบางคันจะถูกทำสีให้ตรงตามกับหน่วยสังกัด เอ็ม1เอ2 ที่ถูกผลิตให้กับประเทศในตะวันออกกลางก็ทำสีเป็นสีน้ำตาลทะเลทรายเช่นกัน

เอ็ม1 บางรุ่นกำลังถูกทำสีเป็นสีน้ำตาลทะเลทรายเพื่อส่งเข้าทำหน้าที่ในอิรัก ชิ้นส่วนอะไหล่ (เช่น ล้อ แผงเกราะข้าง ล้อเฟือง เป็นต้น) จะถูกทำสีเป็นสีเขียวล้วน ซึ่งบางครั้งก็นำไปใช้กับทั้งรถถังคันที่เป็นสีเขียวและสีน้ำตาลทะเลทราย

การอำพรางตัว

ส่วนป้อมปืนนั้นจะมีท่อยิงระเบิดควันอยู่หกท่อ พวกมันสามารถสร้างกำแพงควันหนาที่ทำให้ศัตรูมองไม่เห็นแม้จะใช้กล้องตรวจจับความร้อนก็ตาม นอกจากนี้มันยังสามารถเปลี่ยนเป็นยิงชาฟฟ์ที่จะรบกวนเรดาร์ได้อีกด้วย ที่เครื่องยนต์มีการติดตั้งเครื่องสร้างควันที่จะเปิดได้โดยพลขับ เมื่อทำงาน มันจะพ่นเชื้อเพลิงตามท่อของเครื่องยนต์จนเกิดเป็นควันขึ้นมา อย่างไรก็ตาม เนื่องมาจากการเปลี่ยนการใช้น้ำมันดีเซลไปเป็นเชื้อเพลิงเจพี-8 ระบบดังกล่าวจึงถูกปิดในรถถังส่วนมาก เพราะว่าเจพี-8 จะทำให้เครื่องยนต์ลุกเป็นไฟแทนหากพ่นมันไปตามท่อเครื่องยนต์

ระบบการป้องกันแบบเชิงรุก

นอกเหนือจากเกราะที่ก้าวหนาแล้ว เอบรามส์บางคันก็ยังติดตั้งอุปกรณ์ต่อต้านขีปนาวุธเอาไว้ ซึ่งมันสามารถรบกวนระบบนำวิถีของขีปนาวุธสายลวดและขีปนาวุธต่อต้านรถถังนำวิถีด้วยวิทยุ (เช่น เอที-3 เอที-4 เอที-5 เอที-6 ของรัสเซีย) และขีปนาวุธนำวิถีด้วยความร้อนและอินฟราเรดอื่นๆ[22] อุปกรณ์นี้จะติดตั้งอยู่บนป้อมปืนหน้าฝาปิดห้องลูกเรือ มันทำให้บางคนเข้าใจผิดว่ารถถังที่ติดตั้งอุปกรณ์นี้คือเอ็ม1เอ2 เพราะว่าการติดตั้งช่องสำหรับผู้บัญชาการรถถังในตำแหน่งเดียวกัน

เกราะ

เอบรามส์นั้นได้รับการป้องกันจากเกราะที่มีการออกแบบมาจากเกราะช็อบแฮมของอังกฤษ ซึ่งมันคือการพัฒนาจากเกราะเบอร์ลิงตันของอังกฤษเช่นเดียวกัน ช็อบแฮมเป็นเกราะแบบผสมที่เกิดจากการซ้อนวัสดุที่ประกอบด้วย เหล็กอัลลอย เซรามิก พลาสติกผสม และเคฟลาร์ ทำให้มันมีเกราะหนาถึง 1,320-1,620 มิลลิเมตรที่ต้านทานสารเคมีและความร้อน พร้อมเกราะต้านกระสุนเจาะเกราะพลังงานจลน์หนา 940-960 มิลลิเมตร[23] อาจมีการนำเกราะปฏิกิริยามาใช้ในส่วนล่างหากจำเป็น (ในการรบแบบเมือง) และเกราะแสลทที่ด้านท้ายของรถถังเพื่อป้องกันการโจมตีจากขีปนาวุธนำวิถีต่อต้านรถถัง การป้องกันสะเก็ดระเบิดจะใช้เกราะเคฟลาร์ ในตอนแรกเมื่อปีพ.ศ. 2530 เอ็ม1เอ1 ได้รับการพัฒนาไปใช้เกราะที่ทำงานร่วมกับยูเรเนียมสิ้นอายุที่จะติดตั้งตรงด้านหน้าของป้อมปืนและด้านหน้าของตัวถัง เกราะแบบนี้มีประสิทธิภาพมากในการเพิ่มแรงต้านทานต่ออาวุธต่อต้านรถถังทุกรูปแบบ แต่มันก็ตามมาด้วยน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก เพราะว่ายูเรเนียมสิ้นอายุนั้นหนักกว่าตะกั่วถึง 1.7 เท่า[24]

เอ็ม1เอ1 รุ่นแรกๆ ที่ใช้เกราะแบบนี้ประจำการอยู่ในเยอรมนี เพราะว่าพวกมันคือแนวตั้งรับแรกสุดต่อสหภาพโซเวียต กองพันยานเกราะของสหรัฐที่ทำสงครามในปฏิบัติการพายุทะเลทรายได้รับการปรับเปลี่ยนไปใช้เกราะยูเรเนียมอย่างกะทันหันก่อนเริ่มการรบ เอ็ม1เอ2 นั้นใช้เกราะเนื้อเดียวที่หน้า 610 มิลลิเมตร ความแข็งแกร่งของเกราะนั้นพอๆ กับรถถังประจัญบานหลักของฝั่งยุโรปอย่างลีโอพาร์ด 2 ในสงครามอ่าว รถถังเอบรามส์รอดจากการถูกยิงหลายครั้งในระยะใกล้โดยรถถังไลออน ออฟ บาบิโลนและขีปนาวุธต่อต้านรถถังของอิรัก กระสุนของเอบรามส์ด้วยกันเองก็ยังไม่สามารถเจาะทะลุเกราะด้านหน้าและด้านข้างได้เช่นกัน ตัวอย่างที่ให้เห็นเกิดขึ้นเมื่อเอบรามส์คันหนึ่งต้องการทำลายเอบรามส์อีกคันที่ติดหล่มและขวางทางอยู่จนต้องทิ้งมันไว้[25]

การควบคุมความเสียหาย

ในกรณีที่เอบรามส์ได้รับความเสียหายจากการถูกยิงเข้าที่ส่วนห้องลูกเรือ รถถังจึงได้ติดตั้งระบบดับเพลิงเอาไว้ ซึ้งมันจะทำการดับเพลิงโดยอัตโนมัติทันทีเมื่อเกิดไฟไหม้

เชื้อเพลิงและกระสุนจะถูกเก็บเอาไว้ในส่วนที่หุ้มเกราะเพื่อป้องกันลูกเรือจากการระเบิดของกระสุนในรถถังเมื่อรถถังถูกยิง

อาวุธ

อาวุธหลัก

ปืนลำกล้องเกลียว เอ็ม68เอ1

อาวุธหลักของเอ็ม1 คันต้นแบบคือปืนใหญ่รถถังเอ็ม68เอ1 ขนาด 105 ม.ม. ที่จะยิงกระสุนหลากชนิด เช่น ระเบิดแรงสูงต่อต้านรถถัง ระเบิดแรงสูง ฟอสฟอรัสขาว และกระสุนต่อต้านบุคคล ปืนแบบนี้ถูกสร้างจากปืนโรยัล ออร์ดแนนซ์ แอล7 ภายใต้ใบอนุญาตของอังกฤษ ในขณะที่มันเป็นปืนที่มีความน่าเชื่อถือและถูกใช้อย่างกว้างขวางในประเทศกลุ่มนาโต้ แต่ก็มีความต้องการปืนที่ยิงได้ไกลกว่า 3 กิโลเมตรอย่างแม่นยำเพื่อจัดการกับเกราะสมัยใหม่ เพื่อให้ได้ความแม่นยำในระดับนั้น เส้นผ่าศูนย์กลางของกระสุนจะต้องยาวมากขึ้น การทำงานในด้านความแม่นยำและการทะลุทะลวงเกราะของเอ็ม68เอ1 นั้นเทียบได้กับของเอ็ม256เอ1 ถึง 3 กิโลเมตร แต่หากไกลกว่านั้น กระสุนขนาด 105 ม.ม.จะสูญเสียพลังจลน์ที่ใช้เพื่อเจาะเกราะสมัยใหม่

ปืนใหญ่ลำกล้องเรียบ เอ็ม256รถถังเอ็ม1เอ1 เอบรามส์ของนาวิกโยธินสหรัฐ ยิงเข้าใส่ตึกเพื่อข่มการยิงจากผู้ก่อการร้ายในฟอลลูจาห์ ประเทศอิรัก ในยุทธการฟอลลูจาห์ครั้งที่ 2 เมื่อปีพ.ศ. 2547

อาวุธหลักของเอ็ม1เอ1 และเอ็ม1เอ2 คือปืนใหญ่รถถัง เอ็ม256เอ1 ขนาด 120 ม.ม. ซึ่งออกแบบโดยไรน์เมทอล เอจีในประเทศเยอรมนี ผลิตภายใต้ใบอนุญาตโดยวอเตอร์วเลียท อาร์เซนัลในสหรัฐอเมริกา เอ็ม256เอ1 เป็นแบบดัดแปลงมาจากปืนไรน์เมทอล 120 ม.ม. แอล/44 ที่ใช้กับรถถังลีโอพาร์ด 2 ของเยอรมัน รถถังลีโอพาร์ดนั้นมีหลายรุ่น รุ่นสูงสุดคือ ลีโอพาร์ด 2เอ6 ที่ใช้ปืนแอล/55 ที่ยาวกว่าแอล/44

เอ็ม256เอ1 สามารถยิงกระสุนได้อย่างหลากหลาย กระสุนแบบเอ็ม829เอ2 ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อจัดการกับภัยคุกคามอย่างรถถังที-90 หรือที-80 ของโซเวียตที่ติดเกราะระเบิดปฏิกิริยาคอนทักท์-5 นอกจากนี้มันยังใช้กระสุนระเบิดแรงสูงต่อต้านรถถังอย่างเอ็ม830 ซึ่งรุ่นล่าสุด (เอ็ม830เอ1) ของมันจะทำงานร่วมกับชนวนสัมผัสไฟฟ้าที่ซับซ้อนและสะเก็ดระเบิด ซึ่งทำให้มันมีประสิทธิภาพกับพาหนะหุ้มเกราะ ทหารราบ และอากาศยานบินต่ำ เอบรามส์ใช้การบรรจุกระสุนด้วยมือ เพราะว่าเชื่อกันว่าการใช้คนบรรจุกระสุนนั้นรวดเร็วและน่าเชื่อถือกว่า[ต้องการอ้างอิง] และเพราะความต้องการพลประจำรถถังนายที่สี่ในรถถังซึ่งสามารถทำหน้าที่อื่นได้ เช่น การซ่อมบำรุงและสังเกตการณ์

กระสุนต่อต้านบุคคล เอ็ม1028 ขนาด 120 ม.ม.ได้ถูกนำมาใช้หลังจากสิ้นสุดการบุกอิรักเมื่อปีพ.ศ. 2546 มันบรรจุด้วยลูกปรายทำจากทังสเตนขนาด 3 ม.ม.จำนวน 1,098 ลูก ซึ่งจะกระจายออกจากปากกระบอกปืนเหมือนกับปืนลูกซอง โดยให้ระยะสังหารถึง 600 เมตร ลูกปรายทังสเตนนั้นสามารถถูกใช้เพื่อกำจัดศัตรูในพาหนะ การรบในเขตเมือง กวาดล้างช่องเชา หยุดการโจมตีจากทหารราบและตอบโต้ และสนับสนุนการโจมตีของทหารราบฝ่ายพันธมิตร กระสนุนดังกล่าวยังมีประสิทธิภาพอย่างมากในการสร้างช่องบนกำแพงเพื่อส่งทหารราบเข้าพื้นที่ โดยใช้ได้ไกล 75 เมตร[26]

นอกจากนี้แล้ว กระสุนรุ่นใหม่อย่าง เอ็กซ์เอ็ม1111 ก็ถูกพัฒนาขึ้นมาเช่นกัน มันเป็นกระสุนแบบนำวิถีโดยมีระยะหวังผลประมาณ 12 กิโลเมตรและใช้หัวรบพลังงานจลน์ ซึ่งใช้จรวดขับเคลื่อน มันมีแนวโน้มที่จะเป็นกระสุนเจาะเกราะที่ดีที่สุดของสหรัฐ โดยสามารถเจาะทะลุเกราะที่หนา 790 ม.ม.ได้ แต่ได้ยกเลิกไปพร้อมกับโครงการระบบการรบอนาคต (Future Combat System, FCS)

อาวุธรอง

เอ็ม1เอ1 กำลังยิงปืนหลัก สามารถเห็นปืน เอ็ม240 ได้ที่เหนือช่องพลบรรจุกระสุน และปืนกล เอ็ม2 ที่ด้านขวา

รถถังเอบรามส์นั้นมีปืนกลทั้งสิ้น 3 กระบอก ได้แก่

  1. ปืนกลเอ็ม2เอชบี ขนาด .50 คาลิเบอร์ (12.7 ม.ม.) ซึ่งติดอยู่หน้าช่องของผู้บัญชาการรถถัง ในรุ่นเอ็ม1 เอ็ม1ไอพี และเอ็ม1เอ1 ปืนนี้จะใช้ระบบไฟฟ้าและสามารถยิงด้วยกล้องมอง 3 ระดับ โดยมักเรียกว่าอาวุธประจำสถานีของผู้บัญชาการหรือซีดับบลิวเอส (Commander's Weapon Station, CWS) ในรุ่นเอ็ม1เอ2 และเอ็ม1เอ2เอสอีพี ปืนนี้จะต้องยิงโดยลูกเรือเอง เมื่อใช้ชุดอุปกรณ์ทัสค์ รถถังจะสามารถติดตั้งปืนกลเอ็ม2เอชบีหรือเครื่องยิงลูกระเบิด มาร์ค 19 บนแท่นควบคุมได้ (แท่นควบคุมนี้จะทำงานเหมือนกับอาวุธประจำสถานีควบคุมระยะไกลโพรเทคเตอร์ เอ็ม151 ที่ใช้กับยานพาหนะตระกูลสไตรค์เกอร์ การพัฒนาขึ้นต่อคือ เอ็ม1เอ1 เอบรามส์ อินเตอร์เกรทเต็ด มาเนจเมนท์หรือเอไอเอ็ม (M1A1 Abrams Integrated Management, AIM) ซึ่งมีปืนขนาด .50 คาลิเบอร์ที่ติดตั้งกล้องจับความร้อนและอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อช่วยในการยิงเมื่อทรรศนะวิสัยไม่ชัด[27]
  2. ปืนกล เอ็ม240 ขนาด 7.62 ม.ม. ซึ่งติดตั้งอยู่หน้าช่องพลบรรจุกระสุน (ในภาพด้านขวา) บางครั้งจะมีการติดตั้งเกราะในช่วงสงครามอิรัก รวมทั้งกล้องมองกลางคืนด้วยเช่นกัน
  3. ปืนกล เอ็ม240 ขนาด 7.62 ม.ม. กระบอกที่สองนั้นจะอยู่ทางขวา ข้างปืนใหญ่หลัก มันจะถูกควบคุมและยิงโดยระบบคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกับปืนใหญ่หลัก[28]
  4. ปืนกล เอ็ม2เอชบี ขนาด 12.7 ม.ม. กระบอกที่สองสามารถติดตั้งไว้เหนือปืนใหญ่หลักได้เช่นกัน (เป็นอีกทางเลือก)

สำหรับกองทัพสหรัฐ ในรถถังจะมีปืนเล็กยาว เอ็ม16 หรือเอ็ม4 คาร์ไบน์ ซึ่งเก็บเอาไว้ในส่วนป้อมปืนในกรณีฉุกเฉินเมื่อลูกเรือต้องสละรถถัง ในขณะเดียวกันลูกเรือเองก็จะมีเอ็ม9 เบเร็ทต้าเป็นอาวุธประจำกาย ในปัจจุบันลูกเรือของกองทัพสหรัฐจะมีปืนเล็กยาวหรือคาร์บินคนละหนึ่งกระบอก ในปฏิบัติการปลดปล่อยอิรักลูกเรือบางนายจะใช้จรวดต่อสู้รถถังประทับบ่าเอ็ม136 เอที4 สำหรับจัดการกับยานเกราะในสภาพแวดล้อมที่คับแคบจนไม่สามารถใช้ปืนใหญ่หลักของเอ็ม1 เอบรามส์ได้

การเล็ง

ระบบกล้องเล็งของรถถังเอ็ม1 เอบรามส์นั้น จะประกอบไปด้วย ศูนย์เล็งหลักของพลยิง (Gunner Primary Sight,GPS) ซึ่งประกอบไปด้วยกล้องเล็งกลางวัน,กล้องเล็งชนิดตรวจจับความร้อนและเลเซอร์วัดระยะ โดยทั้งระบบจะมีระบบรักษาการทรงตัวอิสระในแนวดิ่ง และสำหรับในรุ่นเอ็ม1เอ2 ศูนย์เล็งจะรักษาการทรงตัวอิสระทั้งแนวดิ่งและแนวระดับ [29] ซึ่งผู้บังคับรถจะสามารถตรวจการณ์ผ่านศูนย์เล็งของพลยิงผ่านชุดถ่ายทอดศูนย์เล็ง และสำหรับรุ่นเอ็ม1เอ2 ผู้บังคับรถจะมีกล้องตรวจการณ์ความร้อนของผู้บังคับรถ ("Commander Independent Thermal Vision, CITV") สำหรับตรวจการณ์รอบทิศและนอกจากนี้ พลยิงยังมีศูนย์เล็งสำรองสำหรับใช้ในกรณีที่ศูนย์เล็งหลักถูกทำลาย หรือ ไม่สามารถใช้การได้รถถังเอบรามส์มีคอมพิวเตอร์คำนวณขีปนวิถีที่จะรวบรวมข้อมูลจากหลายๆ แหล่ง เพื่อคำนวณ แสดงผล และทำงานร่วมกับปัจจัยในการทำงานทั้งสามอย่างของการยิง คือ มุม ชนิดกระสุน และระยะเป้าหมาย ปัจจัยทั้งสามจะต้องพึ่งพา เลเซอร์หาระยะ เซ็นเซอร์วัดแรงลม เซ็นเซอร์จุดศูนย์ถ่วง ข้อมูลการทำงานและการเคลื่อนที่ของกระสุนชนิดนั้นๆ ข้อมูลแนวปากกระบอกปืน อุณหภูมิกระสุน อุณหภูมิอากาศ แรงกดอากาศ ระบบอ้างอิงปากกระบอกปืน และเครื่องวัดความเร็วในการเคลื่อนที่ของเป้าหมาย ปัจจัยทั้งหมดเหล่านี้จะถูกคำนวณออกมาเป็นวิธีการยิงและทำการอัปเดต 30 ครั้งต่อวินาที การอัปเดตนั้นจะแสดงผลให้กับพลปืนหรือผู้บัญชาการ ทั้งภาพปกติและภาพความร้อน มุมและกระบอกปืนจะถูกเปลี่ยนให้เหมาะสมโดยคอมพิวเตอร์

ระบบควบคุมการยิงจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อประมวลการยิงให้กับพลปืน มันจะเพิ่มโอกาสในการยิงถูกเป้าหมายถึง 95% ในระยะปกติ ทั้งผู้บัญชาการและพลปืนสามารถทำการยิงปืนใหญ่หลักได้ นอกจากนี้กล้องตรวจการณ์ความร้อนของผู้บังคับรถของรถถังเอ็ม1เอ2 สามารถถูกใช้เพื่อระบุตำแหน่งเป้าหมายและส่งต่อเป้าหมายไปยังพลปืนเพื่อทำการยิงได้ ในขณะที่หาเป้าหมายต่อไป ในกรณที่เกิดเหตุขัดข้องหรือระบบเล็งได้รับความเสียหาย อาวุธหลักจะสามารถเล็งได้ด้วยมือ ป้อมปืนและปืนใหญ่สามารถปรับได้ด้วยข้อเหวี่ยงหากเกิดความเสียหายต่อระบบไฮดรอลิกหรือระบบควบคุมการยิง

การขับเคลื่อน

ทางยุทธวิธี

นาวิกโยธินสหรัฐขณะกำลังบรรจุเครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ ฮันนีย์เวลล์ อีจีที1500 ลงไปที่ด้านท้ายของรถถังในคูเวต พ.ศ. 2546

เอ็ม1 เอบรามส์นั้นมีขุมกำลังเป็นเครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ ฮันนีย์เวลล์ เอจีที-1500 และระบบส่งกำลัง อัลลิสัน เอ็กซ์-1100-3บี ซึ่งมีความเร็วหกระดับด้วยกัน (เดินหน้าสี่และถอยหลังสอง) ทั้งสองอย่างนี้ทำให้มันสามารถทำความเร็วสูงสุดได้ 72 กิโลเมตรต่อชั่วโมงบนถนน และ 48 กิโลเมตรต่อชั่วโมงบนพื้นผิวทั่วไป มันสามารถทำความเร็วได้เกินสมรรถนะเป็น 97 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่การวิ่งเร็วเกิน 72 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะสร้างความเสียหายให้กับตีนตะขาบและทำให้ลูกเรือได้รับบาดเจ็บได้ มีการสร้างถังสารพัดประโยชน์ขึ้นไว้รอบเครื่องยนต์[30] ถังดังกล่าวจะสามารถบรรจุได้ทั้งน้ำมันดีเซล น้ำมันก๊าด เชื้อเพลิงเจพี-4 หรือเจพี-8 ของเครื่องบินไอพ่น กองทัพบกสหรัฐใช้เชื้อเพลิงเจพี-8 เพื่อทำให้พลาธิการทางทหารง่ายขึ้น กองพันยานเกราะของออสเตรเลียใช้น้ำมันดีเซล เพราะว่ามันถูกกว่าและดูเหมาะสมกว่าในทางพลาธิการของกองทัพออสเตรเลีย

จากสงครามอิรัก กองทัพบกสหรัฐจึงเริ่มมองหาเครื่องยนต์มาแทนที่เอจีที-1500 เพราะปัญหาการใช้เชื้อเพลิง เครื่องยนต์เทอร์ไบน์นั้นให้การเร่งกำลังที่ดีกว่า แต่ใช้เชื้อเพลิงมากกว่าเครื่องยนต์ดีเซลถึงสองเท่า เครื่องยนต์เทอร์ไบน์นั้นมีน้ำหนักเบากว่าเครื่องยนต์ดีเซล แต่ก็ใช้พื้นที่และถังเชื้อเพลิงที่ใหญ่กว่า

ระบบขับเคลื่อนของเครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์นั้นน่าไว้ใจกว่าทั้งในทางปฏิบัติและทางทฤษฎี แต่การผลาญเชื้อเพลิงที่มากของมันทำให้กลายเป็นปัญหาทางเสบียง เครื่องยนต์นั้นผลาญเชื้อเพลิงมากกว่า3.8 ลิตรต่อหนึ่งไมล์และ 45 ลิตรต่อชั่วโมงเมื่อไม่ได้เคลื่อนที่[31] ลมที่มีความเร็วและความร้อนสูงเท่าไอพ่นของเครื่องบินจะถูกส่งออกมาจากด้านท้ายของรถถัง ซึ่งทำให้ทหารราบไม่สามารถติดตามรถถังได้ในกรณีที่ต้องทำการรบในพื้นที่เมือง นอกจากนี้เครื่องยนต์เทอร์ไบน์นั้นมีเสียงที่เบากว่าเครื่องยนต์ดีเซล

ทางยุทธศาสตร์

รถถังเอ1เอ็ม1ของกองทัพบกสหรัฐหลังจากถูกลำเลียงออกจากเครื่องบินซี-17 ณ ฐานทัพอากาศบาลัดในอิรักเมื่อปีพ.ศ. 2547

การเคลื่อนที่ทางยุทธศาสตร์ คือความสามารถของรถถังของกองกำลังติดอาวุธที่จะต้องเข้าสู่สนามรบได้ตรงเวลา มีประสิทธิภาพ และพร้อมเพรียงกัน รถถังเอบรามส์นั้นจะถูกลำเลียงด้วยเครื่องบินขนส่งซี-5 กาแลคซีหรือซี-17 โกลบมาสเตอร์ 3 แม้ว่าในสงครามอ่าวเปอร์เซียรถถังเอบรามส์จำนวน 1,848 คันถูกลำเลียงโดยเรือ แต่ด้วยเนื้อที่ที่จำกัดบนเครื่องบินทั้งสองรุ่น (ซี-5 สามารถบรรทุกรถถังเอบรามส์พร้อมรบได้ 2 คัน ซี-17 สามารถบรรทุกได้ 1 คัน) ทำให้เกิดปัญหาในการลำเลียงรถถังอย่างมากในช่วงแรกของสงคราม

นาวิกโธยินของสหรัฐลำเลียงรถถังของหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินพื้นดินและอากาศด้วยเรือรบ โดยปกติแล้วเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้นวาสป์จะบรรทุกรถถังเอบรามส์ 4-5 คัน พร้อมกับหน่วยสนาวิกโยธินสำรวจทาง โดยจะทำการลำเลียงรถถังขึ้นฝั่งด้วยยานยกพลขึ้นบกแบบสะเทื้อนน้ำสะเทื้อนบกทีละหนึ่งคัน

นอกจากนี้แล้วรถถังเอบรามส์ยังสามารถถูกลำเลียงด้วยรถบรรทุกระบบขนส่งอุปกรณ์ขนาดหนัก|เอ็ม1070]] รถบรรทุกนี้สามารถเดินทางบนทางหลวง ถนนรอง และเดินทางข้ามประเทศได้ โดยใช้พลขับทั้งหมด 4 นายในการควบคุมรถบรรทุกดังกล่าว[32]

การลำเลียงรถถังเอบรามส์เข้าสู่สนามรบโดยตรงทางอากาศเกิดขึ้นครั้งแรกในเดือนเมษายน พ.ศ. 2546 โดยรถถังจากกองทหารราบที่ 1 ของสหรัฐถูกลำเลียงโดยเครื่องบินซี-17 จากเมืองรามสตีนในเยอรมนีเข้าสู่ทางเหนือของอิรัก เพื่อทำการสนับสนุนหน่วยเฉพาะกิจไวกิ้ง[33]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เอ็ม1 เอบรามส์ http://www.anao.gov.au/director/publications/audit... http://tecnodefesa.com.br/m-1-abrams-105-mm-tanque... http://usmilitary.about.com/od/armyweapons/a/abram... http://www.accessmylibrary.com/coms2/summary_0286-... http://www.army-technology.com/news/newsrussia-t90... http://www.army-technology.com/projects/abrams/ http://www.army-technology.com/projects/abrams/ind... http://www.armyrecognition.com/june_2012_new_army_... http://www.armyrecognition.com/united_states_army_... http://www.armytimes.com/news/2009/09/SATURDAY_arm...